วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เฉลยเเบบทดสอบ


1. ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50,000  วัดขนาดของสวนลำไยได้กว้าง 1 เซนติเมตร  ยาว  4  เซนติเมตร  สวนลำไยนี้มีขนาดจริงในภูมิประเทศกี่ตารางกิโลเมตร (4*50,000)/100,000 = 2 ตร.กม.)
1.  1            
2.  2            
3.  3            
4.  4

2.  รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก  ส่วนใหญ่เป็นรังสีประเภทใด
1.  รังสีเอกซ์        
2.  รังสีแกมม่า        
3.  รังสีอุลตราไวโอเลต    
4.  รังสีอินฟราเรด

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำขึ้น น้ำลง ที่สำคัญที่สุด คือข้อใด
1. ลมประจำ
2. โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
3. แรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่มีต่อโลก
4. แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก

 4. ชั้นบรรยากาศที่สะท้อนคลื่นวิทยุได้ดี คือ
 1.สตราโตสเฟียร์
 2.เมโซสเฟียร์
 3.โทรโพสเฟียร์
 4.เอกโซสเฟียร์

5.  ข้อใดเป็นการเรียงลำดับธาตุที่พบบริเวณเปลือกโลก  จากพบมากที่สุดไปน้อยที่สุด
1.  ออกซิเจน  ซิลิกอน  อะลูมิเนียม  เหล็ก        
2.  ซิลิกอน  ออกซิเจน  เหล็ก  อะลูมิเนียม
3.  อะลูมิเนียม  ซิลิกอน  ออกซิเจน  เหล็ก        
4.  เหล็ก  ออกซิเจน  ซิลิกอน  อะลูมิเนียม

6.  หินชนิดใดที่สัมพันธ์กับการเกิด แผ่นดินทรุด”  หรือ  “ธรณีสูบ”  มากที่สุด
1.  หินแกรนิต        
2.  หินดินดาน        
3.  หินทราย        
4.  หินปูน
  
7.  ชั้นบรรยากาศโลกชั้นใดที่มีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ
1.  โทรโพสเฟียร์    
2.  สตราโทสเฟียร์        
3.  เมโซสเฟียร์        
4.  เทอร์มอสเฟียร์

8. ลักษณะความรุนแรงในข้อใดมีค่ามากที่สุดในขณะเกิดแผ่นดินไหว
 1.พ้นดินเป็นรอนคลื่น
 2.รางรถไฟเกิดการบิดงอ
 3.เกิดรอยแยกของแผ่นดิน
 4.ท่อใต้ดินเสียหายใช้การไม่ได้

9. พายุไซโคลนนากิส เป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรใด
1.มหาสมุทรแปซิฟิก
 2.มหาสมุทรแอตแลนติก
 3.มหาสมุทรอินเดีย
 4.มหาสมุทรอาร์กติก 

10.  การทำนาข้าวทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดใดสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
1.  ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน            
2.  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์   ปลูกถั่ว             
4.  ก๊าซมีเทน

11.  หินชนิดใดที่เหมาะกับการนำมาทำครกมากที่สุด
1.  หินบะซอล์ท    
2.  หินปูน        
3.  หินทราย        
4.  หินแกรนิต

12. “ภาวะโลกร้อนมีสาเหตุพื้นฐานของปัญหามาจากตัวกระทำในข้อใด
1.ก๊าซเรือนกระจก
2.ธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก
3.รังสีอัลตราไวโลเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
4. การใช้สาร CFC ในโรงงานอุตสาหกรรม 

13.  ประเทศไทยมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนีชกี่ชั่วโมง 1 องศาเท่ากับ 4 นาที และประเทศไทยอยู่ที่105องศา ก็เท่ากับ 105*4 เท่ากับ 420 นาที และเมื่อคิดเป็นชั่วโมงก็จะเท่ากับ 7 ชั่วโมง
1.  6        
2.  7            
3.  8            
4.  9

14. การระเบิดของภูเขาไฟที่มีลาวาไหลปะทุออกมาอย่างรุนแรงเป็นผลจากปฏิกิริยาของโลกชั้นใด
 1.เนื้อโลก
 2. แก่นโลก
 3.แก่นโลกชั้นนอก
 4.แก่นโลกชั้นใน

15. ส่วนใดของโลกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุด
1. แก่นโลก
2. เนื้อโลก
 3. เปลือกโลก
 4. ขอบโลก

16. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุใดมากที่สุด
 1. ออกซิเจน , ซิลิคอน
 2. อะลูมิเนียม , เหล็ก
  3. แมกนิเซียม , โซเดียม
  4. แคลเซียม , โปรแตสเซียม

17. หินแกรนิตจัดเป็นหินชนิดใด
1. หินชั้น
2. หินแปร
3. หินอัคนีภายใน
4. หินอัคนีภายนอก


18. หินในข้อใดต่อไปนี้ จัดเป็นหินแปรทั้งหมด
1. หินกรวดมน หินดินดาน หินปูน
 2. หินอ่อน หินชนวน หินไนส์
 3. หินชีสต์ หินออบซิเดียน หินทราย
 4. หินพัมบิส หินบะซอลต์ หินแกบโบร

19. หินประเภทใด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด และอยู่ภายใต้เปลือกโลก และมีมากถึงร้อยละ 96 ของหินเปลือกโลก
1. หินอัคนี
2. หินชั้น
3. หินแปร
4. หินแกรนิต

20. เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกับโลก ทำให้เกิดแรงดึงดูดร่วมกันมายังโลกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุด เรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดังกล่าวนี้ว่าอย่างไร
1.จันทรคลาส
 2.สุริยคลาส
 3.น้ำเกิด
 4.น้ำตาย

แบบทดสอบ


1. ในแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1 : 50,000  วัดขนาดของสวนลำไยได้กว้าง 1 เซนติเมตร  ยาว  4  เซนติเมตร  สวนลำไยนี้มีขนาดจริงในภูมิประเทศกี่ตารางกิโลเมตร (4*50,000)/100,000 = 2 ตร.กม.)
1.  1            
2.  2            
3.  3            
4.  4

2.  รังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก  ส่วนใหญ่เป็นรังสีประเภทใด
1.  รังสีเอกซ์        
2.  รังสีแกมม่า        
3.  รังสีอุลตราไวโอเลต    
4.  รังสีอินฟราเรด

3. สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำขึ้น น้ำลง ที่สำคัญที่สุด คือข้อใด
1. ลมประจำ
2. โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
3. แรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่มีต่อโลก
4. แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ที่มีต่อโลก

 4. ชั้นบรรยากาศที่สะท้อนคลื่นวิทยุได้ดี คือ
 1.สตราโตสเฟียร์
 2.เมโซสเฟียร์
 3.โทรโพสเฟียร์
 4.เอกโซสเฟียร์



5.  ข้อใดเป็นการเรียงลำดับธาตุที่พบบริเวณเปลือกโลก  จากพบมากที่สุดไปน้อยที่สุด
1.  ออกซิเจน  ซิลิกอน  อะลูมิเนียม  เหล็ก        
2.  ซิลิกอน  ออกซิเจน  เหล็ก  อะลูมิเนียม
3.  อะลูมิเนียม  ซิลิกอน  ออกซิเจน  เหล็ก        
4.  เหล็ก  ออกซิเจน  ซิลิกอน  อะลูมิเนียม

6.  หินชนิดใดที่สัมพันธ์กับการเกิด แผ่นดินทรุด”  หรือ  “ธรณีสูบ”  มากที่สุด
1.  หินแกรนิต        
2.  หินดินดาน        
3.  หินทราย        
4.  หินปูน
  
7.  ชั้นบรรยากาศโลกชั้นใดที่มีการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ
1.  โทรโพสเฟียร์    
2.  สตราโทสเฟียร์        
3.  เมโซสเฟียร์        
4.  เทอร์มอสเฟียร์

8. ลักษณะความรุนแรงในข้อใดมีค่ามากที่สุดในขณะเกิดแผ่นดินไหว
 1.พ้นดินเป็นรอนคลื่น
 2.รางรถไฟเกิดการบิดงอ
 3.เกิดรอยแยกของแผ่นดิน
 4.ท่อใต้ดินเสียหายใช้การไม่ได้

9. พายุไซโคลนนากิส เป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรใด
1.มหาสมุทรแปซิฟิก
 2.มหาสมุทรแอตแลนติก
 3.มหาสมุทรอินเดีย
 4.มหาสมุทรอาร์กติก 

10.  การทำนาข้าวทำให้มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดใดสู่ชั้นบรรยากาศของโลก
1.  ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน            
2.  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซไนตรัสออกไซด์   ปลูกถั่ว             
4.  ก๊าซมีเทน

11.  หินชนิดใดที่เหมาะกับการนำมาทำครกมากที่สุด
1.  หินบะซอล์ท    
2.  หินปูน        
3.  หินทราย        
4.  หินแกรนิต

12. “ภาวะโลกร้อนมีสาเหตุพื้นฐานของปัญหามาจากตัวกระทำในข้อใด
1.ก๊าซเรือนกระจก
2.ธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก
3.รังสีอัลตราไวโลเลต (UV) จากดวงอาทิตย์
4. การใช้สาร CFC ในโรงงานอุตสาหกรรม 

13.  ประเทศไทยมีเวลาเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนีชกี่ชั่วโมง 1 องศาเท่ากับ 4 นาที และประเทศไทยอยู่ที่105องศา ก็เท่ากับ 105*4 เท่ากับ 420 นาที และเมื่อคิดเป็นชั่วโมงก็จะเท่ากับ 7 ชั่วโมง
1.  6        
2.  7            
3.  8            
4.  9

14. การระเบิดของภูเขาไฟที่มีลาวาไหลปะทุออกมาอย่างรุนแรงเป็นผลจากปฏิกิริยาของโลกชั้นใด
1. เนื้อโลก
2. แก่นโลก
3.แก่นโลกชั้นนอก
4.แก่นโลกชั้นใน

15. ส่วนใดของโลกที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุด
1. แก่นโลก
2. เนื้อโลก
 3. เปลือกโลก
 4. ขอบโลก

16. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุใดมากที่สุด
 1. ออกซิเจน , ซิลิคอน
 2. อะลูมิเนียม , เหล็ก
  3. แมกนิเซียม , โซเดียม
  4. แคลเซียม , โปรแตสเซียม

17. หินแกรนิตจัดเป็นหินชนิดใด
1. หินชั้น
2. หินแปร
3. หินอัคนีภายใน
4. หินอัคนีภายนอก

18. หินในข้อใดต่อไปนี้ จัดเป็นหินแปรทั้งหมด
1. หินกรวดมน หินดินดาน หินปูน
 2. หินอ่อน หินชนวน หินไนส์
 3. หินชีสต์ หินออบซิเดียน หินทราย
 4. หินพัมบิส หินบะซอลต์ หินแกบโบร

19. หินประเภทใด เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด และอยู่ภายใต้เปลือกโลก และมีมากถึงร้อยละ 96 ของหินเปลือกโลก
1. หินอัคนี
2. หินชั้น
3. หินแปร
4. หินแกรนิต

20. เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกับโลก ทำให้เกิดแรงดึงดูดร่วมกันมายังโลกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุด เรียกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดังกล่าวนี้ว่าอย่างไร
1.จันทรคลาส
 2.สุริยคลาส
 3.น้ำเกิด
 4.น้ำตาย

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้จัดทำ


นางสาวถิรนันท์ ถุงปัญญา
เลขที่ 7 ชั้น ม.5/3



นางสาวธนพร หนูโหยบ
เลขที่ ชั้น ม.5/3



โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย





ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ของโลก


        การดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั้งในประเทศไทยและในส่วนต่างๆของโลกจะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์อันเกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆ ของโลกทั้ง 4 ประการ คือ อุทกภาค ชีวภาค  ธรณีภาค บรรยากาศ





2.1 ปรากฏการณ์จากบรรยากาศและท้องฟ้า
   1) บรรยากาศของโลก  ในท้องฟ้ามีอากาศที่หุ้มห่อโลกอยู่เรียกว่า "บรรยากาศ" ซึ่งประกอบไปด้วยแก๊สชนิดต่างๆรวมทั้งไอน้ำและฝุ่นละออง เมื่อสูงจากบรรยากาศของโลกออกไปจะมีแก๊สและเทห์ฟากฟ้า คือ เทหวัตถุ(ก้อน  หรือชิ้น  หรือส่วนหนึ่งของสสารอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สก็ได้)ในท้องฟ้าหรืออากาศ เช่น ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกกาบาต เป็นต้น
บรรยากาศนับเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่บนโลกหลายประการที่สำคัญ  เช่น   1.บรรยากาศมีแก๊สออกซิเจนช่วยให้มนุษย์หายใจ แก๊สคาร์บอนใดออกไซด์ช่วยให้พืชสร้างแป้งและน้ำตาลจากการสังเคราะห์ด้วยแสง แก๊สที่มีมากที่สุด คือ แก๊สไนโตรเจนร้อยละ 78 รองลงมาคือ แก๊สออกซิเจน   2.บรรยากาศช่วยกรองรังสีเอกซ์ แกมมา และอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์   3.บรรยากาศทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกช่วยอบความร้อน ทำให้อุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนไม่แตกต่างกันมากนัก   4.บรรยากาศเป็นแหล่งสะสมไอน้ำและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรน้ำ
   2) ชั้นบรรยากาศของโลก การกำหนดชั้นบรรยากาศของโลกตามแนวดิ่ง(vertical layers) จำแนกตามคุณลักษณะอุณหภูมิของอากาศ ดังนี้

      2.1) โทรโพสเฟียร์(troposphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดผิวโลกและจะสูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 8 กิโลเมตรที่ขั้วโลก หรือประมาณ 16 กิโลเมตรที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร  ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ มีดังนี้

   1.อุณหภูมิของกาศจะลดลงตามความสูงของพื้นที่  ในอัตรา 6.4 องศาเซลเซียส  ต่อความสูง 1000 เมตร  เช่น  บนยอดเขาสูงๆ  จะมีอากาศเย็นหรือมีหิมะปกคลุม

   2.มีไอน้ำอยู่ในอากาศจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ  ได้แก่  หมอก เมฆ ฝน ลูกเห็บและหิมะ         
   3.อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวนอนเรียกว่า ลม ทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่จากท้องถิ่นหนึ่งไปยังอีกท้องถิ่นหนึ่ง     
   4.ที่ระดับโลกขึ้นไป 6 กิโลเมตร อากาศมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เรียกว่า กระแสอากาศ ทำให้ไอน้ำในอากาศก่อรูปร่างเป็นเมฆก้อน  คือ  คิวมูลัส  และคิวมูโลนิมบัสและทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
      2.2) สแตรโทสเฟียร์(starosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากแนวสิ้นสุดของชั้นโทรโพสเฟียร์และแนวโทรโพพอส (torpopause) โดยอยู่สูงจากระดับผิวโลกมากกว่า 16 กิโลเมตรขึ้นไป  ลักษณะเด่นของบรรยากาศชั้นสแครโทสเฟียร์ คือ 
   1.
อุณหภูมิของอากาศจะสูงขึ้นตามความสูง

   2.ไม่มีไอน้ำเนื่องจากก้อนเมตรจะไม่ลอยสูงขึ้นเกินแนวโทรโพพอสบรรยากาศชั้นนี้จึงไม่มีเมฆและพายุ     
   3.การเคลื่อนที่ของอากาศมีเฉพาะการเคลื่อนที่ในแนวนอนเพียงอย่างเดียวและประกอบกับท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆจึงเหมาะสำหรับกิจการการบิน   
   4.ตอนบนของชั้นบรรยากาศจะมีโอโซนอยู่หนาแน่น  เรียกว่า  แนวโอโซน (ozone layer)  บรรยากาศสะสมคลื่นรังสีอัลตราไวโอเลตไว้  อุณหภูมิของอากาศจึงสูงขึ้น
      2.3) เมโซสเฟียร์ (mesosphere)  เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสแตลโทสเฟียร์ขึ้นไป  อยู่สูงจากระดับผิวโลกประมาณ 50-80 กิโลเมตร  โดยอุณหภูมิของอากาศจะลดลงตามความสูงจนสิ้นสุดที่แนวเมโซพอส
      2.4) เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)  เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากเมโซสเฟียร์ขึ้นไป  ซึ่งจะมีอุณหภูมิของอากาศสูงโดยตลอด

   3)อิทธิพลของบรรยากาศที่มีต่อโลก ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น บรรยากาศที่อยู่รอบโลกจะมีลักษณะเฉพาะที่เปลี่ยนแปลงไปตามอิทฺพลของดวงอาทิตย์และสิ่งแวดล้อมของโลก ดังนี้
      3.1)การเกิดกลางวันและกลางคืน เกิดเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลกขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ด้านรับแสงครึ่งหนึ่งของทรงกลมจะสว่าง ด้านตรงข้ามจะมืด การที่โลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก จึงทำให้ตำแหน่งของพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเห็นดวงอาทิตย์ก่อนทางทิศตะวันตก

      3.2)ฤดูกาล ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์นั้น แกนสมมติของโลกที่เอียงทำมุม ยีสิบสามเศษหนึ่งส่วนสอง องศากับเส้นตั้งฉากของระนาบโคจร ส่งผลทำให้การรับแสงอาทิตย์ของโลกเปลี่ยนไปในแต่ละวัน



   4) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ  สภาวะปกติของบรรยากาศจะมีแก๊สชนิดต่างๆ  มีปริมาณไอน้ำและฝุ่นละอองอย่างสมดุล  เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงและแผ่รังสีความร้อนมาสู่โลก  พลังงานรังสีของดวงอาทิตย์  ประมาณร้อยละ 6 จะแพร่กระจายและทะท้อนกลับก่อนถึงบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์  อีกร้อยล่ะ 14  จะดูดซึมโดยเมเลกุลต่างๆ  ของแก๊สและฝุ่นละอองในบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์และสตาร์โทสเฟียร์  ประมาณร้อยละ 80 ที่ผ่านลงมาถึง 5 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45 จึงลงสู่พื้นกระทบผิวโลก
      การที่บรรยกาศสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์กลับจึงทำให้บรรยากาศของโลกไม่ร้อนมากเกืนไป  และการที่บรรยากาศสามารถดูดซึมความร้อนบาวส่วนไว้ช่วยให้เวลากลางคืนที่โลกได้รับแสงอาทิตย์ยังคงมีความอบอุ่นอยู่  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า  ปรากฏการเรือนกระจก  (greenhouse effect) ซึ่งแก๊สที่ช่วยให้พลังงานรังสีอาทิตย์ที่สะท้อนกลับไม่สามารถทะลุชั้นบรรยากาศออกไปได้เรียกว่า  แก๊สเรือนกระจก  (greenhouse gases) ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  แก๊สมีเทน  แก๊สออกไซด์ของไนโตรเจน  โอโซน  และไอน้ำ  แต่เมื่อองค์ประกอบของแก๊สในบรรยากาศตามธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไปจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ  การใช้สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน  (CFCs) การใช้พลังงานเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  การตัดไม้ทำลายป่า  ทำให้ปริมาณแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากจนส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก  ทำให้อุณหภูมิของลกสูงมากขึ้นและภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป  และส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดภัยพิบัติต่อมวลมนุษย์เอง
ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากสาเหตุต่างๆ  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ดังนี้
      4.1) การละลายของธารน้ำแข็งและภูเขาน้ำแข็ง  น้ำแข็งที่ละลายจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นจะส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลและมหาสมุทรสูงขึ้น  นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้าระดับน้ำในหมาสมุทรจะสูงขึ้นประมาณ 1 เมตร  พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะจมน้ำหายไปเพราะน้ำท่วม  โดยเฉพาะประเทศที่มีพื้นที่ลุ่มต่ำมาก  เช่น บังกลาเทศ  มัลดีฟส์  หมู่เกราะโซโลมอน  เป็นต้น



      4.2) ปรากฏการณ์ภัยแล้ง  หรือช่วงฝนแล้ง  เกิดจากภาวะของฝนไม่แน่นอน  เช่น  ฝนจะตกหนักในระยะเวลาสั้น  ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ  ปรากฏการร์นี้จะเกิดขึ้นรุนแรงในประเทศแถบทะเลทรายทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา  โดยเฉพาะในเอธิโอเปีย  และซูดาน


      4.3) ปรากฏการณ์เอลนีโญ  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเมื่อกระแสน้ำเย็นเปรูบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีอเมริกาใต้  ถูกกระแสน้ำอุ่นจากศูนย์สูตรไหลเข้ามาแทนที่  ทำให้อุณหภูมิที่ผิวน้ำสูงขึ้น  อันเป็นผลจากการอ่อนกำลังลงของลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก  ในบางปีลมค้ามีกำลังอ่อนกว่าปกติหรืออาจพัดกลับทิศ  ทำให้กระแสน้ำอุ่นที่อยู่บริเวณแปซิฟิกตะวันตกไหลย้อนกลับไปทางแปซิฟิกตะวันออกแทนกระแสน้ำเย็น  ผลของปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นบริเวณกว้างไปทั่วโลก  เช่น  บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทวีปออสเตรเลียที่เคยมีฝนตกชุกกลับประสบปัญหาความแห้งแล้ว  มีไฟป่าบ่อยครั้ง  ทวีปอเมริกาเหนือในช่วงฤดูหนาวอากาศอบอุ่นกว่าปกติ  และบางพื้นที่กลับมีฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัย  หรือบริเวณแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ประสบภัยแล้วยาวนานมากขึ้น  ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างมาก
      4.4) ปรากฏการณ์ลานิญา  เป็นปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรเย็นลง  ปรากฏการณ์ลานิญาส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกันกับปรากฏการณ์เอลนีโญ  ทำให้ออสเตรเลีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปินส์  มีฝนตกหนักมากขณะที่บริเวณแปซิฟิกตะวันออกช่วงฤดูฝนกลับมีฝนน้อยและเกิดความแล้งยาวนาน  นอกจากจากนี้ส่งผลต่อบริเวณพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไป  โดยพบว่าแอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนตกหนักและเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาจะแห้งแล้งกว่าปกติในช่วงปลายฤดูร้อน  แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกกลับมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว  หรือในช่วงฤดูหนาวของประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ  เป็นต้น



      4.5) ปรากฏการณ์พายุหมุน  คือ  บริเวณความกดอากาศต่ำที่มีกระแสอากาศหมุนเวียนเข้าหาความกดดันในแนวทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ  และตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้  โดยมีการเรียกชื่อพายุหมุนแตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิดและตามความเร็ว



      4.6) ปรากฏการณ์ไฟป่า (forest fire)  ตามปกติในฤดูแล้งมักจะเกิดไฟป่าขึ้นเองตามธรรมชาติเสมอ  เช่น  จากฟ้าผ่าหรือต้นไม้เสียดสีกัน  เป็นต้น  แต่ในปัจจุบันมีไฟป่าที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  เช่น  การจุดไฟเผาเศษพืช  เพื่อขจัดความรกรุงรังและเพื่อให้พืชแตกใบอ่อนขึ้นมาใหม่หลังจากไฟไหม้ไปแล้ว  โดยหวังจะล่าสัตว์ที่ออกมากินหญ้าอ่อนที่ระบัดใบขึ้นมาใหม่อีกด้วย  การเผาป่าเช่นนี้บ่อยครั้งไม่สามารถควบคุมได้จึงต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้  สัตว์ป่า  สังคมพืช  แมลง  และแหล่งอาหารไปอย่างไม่คุ้มค่า  ทำให้ภูมิอากาศของท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป  นอกจากนี้ในพื้นที่หุบเขาจะมีกระแสลมหมุนเวียน  ทำให้เกิดหมอกควันที่เป็นพิษต่อสุขภาพของประชาชนและมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอีกด้วย



      4.7)พื้นที่อับฝน (rainshadow)  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากภูเขาสูงทอดแนวขวางกั้นทิศทางของลมฝน  จึงมำให้ด้วนต้นลมมีฝนตกชุกกว่าด้านปลายลม  เมื่อไอน้ำถูกลมประจำพัดเข้าหาฝั่งและยกระดับขึ้นตามความสูงของภูมิประเทศ  ทำให้อุณหภูมิลดลงและรวมตัวเป็นก้อนเมฆ  เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงถึงจุดกลั่นตัวจะคลายความร้อนแฝงของการกลั่นตัวจึงมีฝนตกลงด้านต้นลม  ส่วนด้านปลายลมอุณหภูมิจากความร้อนแฝงและเมฆจะจมตัวลงเมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นไอน้ำจะระเหยขึ้นไปในบรรยากาศจึงไม่มีการกลั่นตัวเป็นฝนมาก เหมือนด้านต้นลม  จึงทำให้เกิดด้านปลายลมกลายเป็นพื้นที่อับฝนที่มีอากาศแห้งและอุณหภูมิสูง  บริเวณที่ปรากฏลักษณะดังนี้  เช่น  บริเวณที่ราบสูงปาตาโกเนียทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้  ที่มีทิวเขาแอนดีสทอดแนวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกไว้  ส่วนในประเทศไทย  บริเวณที่ราบภาคกลางแถบจังหวัดกำแพงเพชร  พิษณุโลก  นครสวรรค์  อุทัยทาธานี  สุพรรณบุรี  ราชบุรี  นครปฐม  มีทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาตะนาวศรีทอดแนวขวางกั้นทิศทางลมและความชื้นที่พัดมาจากอ่าวเมาะตะมะ  จึงพบว่าด้านนับลมแถบอำเภอทองผาภูมิ  อำเภอสังขละบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  มีฝนตกชุกและมีปริมาณสูงกว่าด้านปลายลมซึ่งเป็นพื้นที่อับฝน

              
      4.8) ปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน (temperature inversion)  อุณหภูมิผกผันเป็นปรากฏก่ารณ์ที่เกิดขึ้นตรงกันข้ามกับอุณหภูมิปกติในบรรยากาศ  คือ  ปกติในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์อุณหภูมิปกติในบรรยากาศ  คือ  ปกติในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงในอัตรา 6.4 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1000 เมตร  สภาวะของอากาศเช่นนี้จะทำให้ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมลอยขึ้นไปในบรรยากาศ  แต่ในช่วงเวลากลางคืนอุณหภูมิเหนือพื้นดินเย็นกว่าอากาศ เบื้องบนเนื่องจากการคายความร้อนของโลกจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์อุณหภูมิผกผัน ขึ้นดังนั้น  ในพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมและเมืองใหญ่ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่างๆ  ควันที่ลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไม่สามารถลอยขึ้นไปได้สูง  เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศโดยรอบมีค่าสูงกว่า เรียก แนวผกผัน (inversion layer) ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะพบเห็นในช่วงเวลาตอนเช้าและหัวค่ำของฤดูหนาว
   5) ปรากฏการณ์บนผิวโลกอันเนื่องจากดวงจันทร์  ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกและโคจรรอบโลก  โดยดวงจันทร์จะหมุนรอบตัวเองพร้อมกับโคจรรอบโลก  เมื่อโคจรรอบโลกครบ 1 รอบ  จะใช้เวลาเท่ากับการหมุนรอบตัวเอง คือ 27 วัน 8 ชั่วโมง  แต่เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย  ดังนั้น  ดวงจันทร์จึงใช้เวลาโคจรครบรอบจริงเท่ากับ 29 วัน 6 ชั่วโมง  ซึ่งเรียกว่า เดือนจันทรคติ

ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเองเช่นเดียวกับโลก  แสงที่ส่องมายังโลกจึงเป็นเพียงแสงสะท้อนที่ดวงจันทร์ได้รับจากดวงอาทิตย์  ดังนั้น  คนบนโลกจะเห็นดวงจันทร์  14-15 วันและไม่เห็นอีกเลยประมาณ 14 หรือ 15 วัน  ในรอบ 1 เดือนทางสุริยคติ  ปรากฏการณ์บนผิวโลกอันเนื่องมาจากดวงจันทร์  มีดังนี้
      5.1) การเกิดข้างขึ้น-ข้างแรม  การที่ดวงจันทร์หันด้านสว่างเข้าหาดวงอาทิตย์ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก  คนบนโลกมีโอกาสเห็นส่วนสว่างของดวงจันทร์มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละระยะเวลา 

      5.2) สุริยุปราคา  เกิดขึ้นในเวลากลางวันเมื่อดวงจันทร์โคจรอยู่ในตำแหน่งระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกหรือวันแรม 14-15 ค่ำและวันขึ้น 1 ค่ำ  และอยู่ในระนาบเดียวกันดวงจันทร์จะโคจรเข้าบังแสงของดวงอาทิตย์ส่งผลให้เกิดความมืดบางส่วนของพื้นโลกในช่วงเวลาหนึ่ง 


      5.3) จันทรุปราคา  เกิดขึ้นในเวลากลางคืนเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์  โดยมีโลกอยู่ตรงกลางหรือวันขึ้น  14-15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ  และอยู่ในระนาบเดียวกัน  เงามืดของโลกที่บดบังดวงอาทิตย์จะตกทอดไปยังดวงจันทร์ที่สุกสว่างในคืนเพ็ญเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปจะทำให้ดวงจันทร์มืดลงทีละน้อย


      
2.2 ปรากฏการณ์จากธรณีภาค
      ธรณีภาค (lithosphere) ส่วนของโลกที่เป็นของแข็งประกอบไปด้วยหินและดินชนิดต่างๆซึ่งห่อโลกอยู่เป็นผิวเปลือกโลก  เป็นพื้นที่ที่มนุษย์ใช้เป็นที่อาศัยอยู่และดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม เนื่องจากส่วนที่เป็นธรณีภาค  ประกอบด้วย  แผ่นภาคพื้นทวีปกับแผ่นภาคพื้นสมุทรและถูกรองรับด้วยธรณีภาค (asthenosphere) กับส่วนเนื้อโลก (mantle) ที่เป็นอาณาบริเวณที่เป็นหินหนืด (magma) หินหนืดเป็นสารเหลวร้อนมีการเคลื่อนตัวภายในโลกจึงส่งผลให้เปลือกโลกที่เป็นแผ่นภาคพื้นทวีปและแผ่นภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่  ซึ่งเรียกว่า ทวีปเลื่อน  โดยลักษณะการเคลื่อนนั้นมีทั้งลักษณะการแยกออกจากกันและการเลื่อนชนกันหรือมุดเข้าหากันของเปลือกโลก
จากทฤษฎีของนายอัลเฟรด เวเกเนอร์  นักธรณีฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  ตั้งสมมติฐานว่าแต่เดิมโลกใบนี้มีแผ่นดินกว้างใหญ่เพียงผืนเดียว  เรียกว่า  พันเจีย (Pangea ; Pangaea)  ส่วนมหาสมุทรทั้งหมดเรียกว่า  พันทาลัสซา (Panthalassa) และ ทะเลเททิส (Tethy Sea) คือ ทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยูเรเซียกับแผ่นทวีปอฟริกา  ซึ่งภายหลังต่อมาผืนแผ่นดินกว้างใหญ่หรือพันเจียนั้นได้แยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่างๆในปัจจุบัน  และทะเลเททิสส่วนใหญ่ถูกปิดจากการเคลื่อนของพื้นทวีป  ส่วนที่หลงเหลืออยู่ของทะเลเททิสให้เห็นในปัจจุบัน  คือ  ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลแคสเปียน
จากการสำรวจพื้นที่ทางตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้กับพื้นที่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา พบว่า  ชนิดของหินและฟอสซิลบริเวณประเทศบราซิลมีลักษณะเช่นเดียวกันกับในประเทศไนจีเรียกาบอง  นอกจากนี้ยังพบว่าเทือกเขาแอตลาสทางด้านทิศตะวันตกเฉียง เหนือของทวีปแอฟริกามีลักษณะการเกิดและชนิดของหินเช่นเดียวกับเทียกเขาแอบพา เลเซียทางด้านทิศตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งผลสำรวจเหล่านี้สนับสนุนทฤษฎีทวีปเลื่อนได้เป็นอย่างดี
ท้องทะเลบริเวณทวีปอเมริกาเหนือแยกออกจากทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้  พื้นท้องทะเลที่เคลื่อนออกจากกัน  ทำให้มวลหินหนืดพุขึ้นมาเย็นตัวใต้น้ำกลายเป็นเทือกเขากลางมหาสมุทร  ซึ่งในปัจจุบันอยู่บริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณที่เคยเป็นทะเลเททิส  ระหว่างทวีปแอฟริกากับทวีปเอเชียพื้นที่จะแคบลงเนื่องจากแผ่นทวีปแอฟริกาเคลื่อนที่ขึ้นทางเหนือตามแนวชนกัน  ส่วนทวีปแอนตาร์กติกถูกแยกไปเป็นแผ่นดินอนุทวีปอินเดียและทวีปออสเตรเลีย

เมื่ออนุทวีปอินเดียเคลื่อนที่ไปชนกับแผ่นทวีปยูเรเซียจึงเกิดทิวเขาหิมาลัย  พบฟอสซิลหอยบนยอดเขา  ส่วนแนวมุดเข้าหากันบริเวณทะเลเมริเตอร์เรเนียนทำให้เกิดภูเขาไฟบริเวณประเทศอิตาลี  และเกิดแนวรอยเลื่อนของหินในบริเวณประเทศตุรกี  อิรัก  อิหร่าน  และอัฟกานิสถาน  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก  ได้แก่
   1)แผ่นดินไหว (earthquake)  การเกิดแผ่นดินไหวเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในบริเวณแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก (fault)  หรือการปะทุของภูเขาไฟการสั่นสะเทือนของแผ่นดินอาจสั่นสะเทือนเพียงเล็กน้อย  หรือสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง  จนทำให้สิ่งก่อสร้างฟังทลาย  ดินถล่ม  จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ในระดับลึก  ส่วนผิวโลกที่อยู่ตรงกับจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว  จะเป็นบริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด  และความเสียหายจะลดน้อยลงเมื่ออยู่ห่างตำแหน่งดังกล่าวออกไป  แนวแผ่นดินไหวของโลกส่วนที่เป็นขอบของแผ่นธรณีของทวีปต่างๆ ซึ่งวางตัวอยู่บนชั้นหินหนืดที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา


บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง  คือประมาณร้อยละ 70 ของการเกิดแผ่นดินไหวทัวโลก  และมีความรุนแรงมากที่สุดจะอยู่โดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือที่เรียกว่า  แนววงแหวนไฟแปซิฟิก (The Pacific Ring of Fire) 


2) การไหลเวียนของกระแสน้ำมหาสมุทร (ocean currents) มีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอกัน  โดยเกิดจากสาเหตุ  ดังนี้
  1.เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำทะเล  2.เกิดจากความหนาแน่นและอุณหภูมิที่แตกต่างกันของทะเลในแต่ละแห่ง
  3.เกิดจากแรงผลักของลมประจำฤดูและลมประจำถิ่นที่กระทำต่อผิวหน้าน้ำ
  4.เกิดจากการลดระดับและการเพิ่มระดับน้ำทะเลจากปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง                           
  5.เกิดจากผลของแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุใต้ทะเล
 2.1) กระแสน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก  บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มี  กระแสน้ำเย็นแปรู  เมื่อไหลเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรกระแสน้ำจะอุ่นขึ้นและเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร  กระทั่งกระแสน้ำไหลไปถึงทวีปออสเตรเลียจะแยกออกเป็น 2 สาย  คือ สายที่ไหลวกลงทางใต้เส้นศูนย์สูตรผ่านชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตรสู่ทะเลจีนแล้วไหลเลียบฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ
ต่อมากระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะจะไหลไปทางตะวันออกจนถึงอ่าวอะแลสกา เรียกว่า กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา  และกระแสน้ำจะค่อยๆ เย็นลงเนื่องจากมีกระแสน้ำเย็นที่ไหลจากช่องแคบเบริงมารวมกัน  มวลน้ำเย็นจะลอยตัวขึ้นเบื้องบนและไหลผ่านชายฝั่งทางทิศตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย  จากนั้นจะไหลลงทางทิศใต้และกระแสน้ำจะอุ่นขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร


 2.2) กระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก
  บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้มี  กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา  ไหลเลียบชายฝั่งทางตะวันตกของทวีปแอฟริกาบริเวณประเทศแอฟริกาใต้  นามิเบีย  แลแองโกลา  เมื่อใกล้เส้นศูนย์สูตรและอ่าวกินี กระแสน้ำอุ่นขึ้นและไหลไปทางทิศตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำไหลไปถึงทวีปอเมริกาใต้จะแยกออกเป็น สาย คือ  สายที่ไหลวกลงทางใต้เส้นศูนย์สูตรผ่านชายฝั่งประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นบราซิล  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปทางเหนือเส้นศูนย์สูตรเข้าไปในทะเลแคริบเบียน  อ่าวเม็กซิโก  และชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
จากนั้นกระแสน้ำจะไหลข้ามมหาสมุทรไปจนถึงคาบสมุทรแกนดิเนเวียและยุโรปตะวันตก  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ  ขณะที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลลงมาจากมหาสมุทรอาร์กติกจะไหลอยู่ลึกใต้กระแสน้ำอุ่น  แถบหมู่เกาะคะแนรี  และเมื่อไหลเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรกระแสน้ำก็จะอุ่นขึ้นแล้วไหลไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร
 2.3) กระแสน้ำในมหาสมุทรอินเดีย  บริเวณมหาสมุทรอินเดียตอนใต้มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านด้านทิศตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นออสเตรเลียตะวันตก  จากนั้นกระแสน้ำจะไหลไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร  ไหลไปทางทิศตะวันตกจนถึงทวีปแอฟริกาที่เกาะมาดากัสการ์  กระแสจะแยกออกเป็น 2 สาย  คือ สายที่ไหลวกลงทางใต้  เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก  ส่วนสายที่ไหลขึ้นไปเหนือเส้นศูนย์สูตร เรียกว่า  กระแสน้ำอุ่นมรสุม

 2.4) กระแสน้ำในมหาสมุทรอาร์กติก  บริเวณมหาสมุทรอาร์กติกจะมีเฉพาะกระแสน้ำเย็น  โดยจะไหลลงไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกในฤดูหนาว  สายหนึ่งไหลผ่านช่องแคบเบริงไปยังชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นโอะยาชิโอ๊ะ  ส่วนอีกสายหนึ่งไหลผ่านช่องแคบเดวิสระหว่างเกาะกรีนแลนด์กับประเทศแคนนาดา  เรียกว่า  กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์





3) ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำมหาสมุทร  กระแสน้ำมหาสมุทรมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ  หลายประการดังนี้
3.1) ในช่วงฤดูหนาวของเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่น  กระแสน้ำที่ไหลเลียบชายฝั่งจะทำให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณนั้นอุ่นขึ้นกว่าปกติ  ตัวอย่างเช่น  เมื่อกระแสน้ำอุ่นขึ้นกว่าอุณหภุมิของอากาศบริเวณอื่นๆ ที่อยู่ในละติจูดเดียวกัน  ได้แก  บริเวณยุโรปเหนือทะเลจะไม่เป็นน้ำแข็ง  แต่บริเวณเกาะกรีนแลนด์ทะเลจะเป็นน้ำแข็งและมีอากาศหนาวเย็น  เป็นต้น
3.2) กระแสน้ำต่างชนิดกันจะก่อให้เกิดความแตกต่างของภูมิอากาศ  แม้จะไหลผ่านทวีปเดียวกัน  ดังกรณีของทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้  โดยในละติจูดเดียวกันภูมิอากาศของทางทิศตะวันตกกับทิศตะวันตกกับทิศตะวันออกของทั้งสองทวีปจะแตกต่างกันมาก  คือ  ทิศตะวันตกของทั้งสองทวีปจะมีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านส่งผลให้บริเวณชายฝั่งและลึกเข้าไปในแผ่นดินอากาศจะแห้งแล้ง  มีลักษณะเป็นทะเลทราย  เช่น  ทะเลทรายคาลาอารี  บริเวณประเทศบอตสวานาในทวีปแอฟริกาและทะเลทรายอะตากามา  บริเวณประเทศชิลีและเปรูในทวีปอเมริกาใต้  ส่วนทางด้านฝั่งตะวันออกของทั้งสองทวีปจะมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาซึ่งมีความชุ่มชื้นมากกว่า
3.3) บริเวณที่มีมวลน้ำเย็นลอยตัวขึ้นมา  แถบหมู่เกาะคะแนรีทางทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกาและชายฝั่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย  สหรัฐอเมริกา  ส่งผลให้ภายในแผ่นดินมีภูมิอากาศแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย

3.4) บริเวณที่กระเสน้ำอุ่นและกระเสน้ำเย็นไหลไปปะทะกัน  เช่น  กระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะปะทะกับกระแสน้ำเย็นโอะยาชิโอะที่บริเวณทะเลญี่ปุ่น  ที่เรียกว่า  คูริลแบงส์  และกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมปะทะกับกระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ที่บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์ของประเทศแคนาดา  ที่เรียกว่า  แกรนด์แบงส์  นอกจากจะทำให้เกิดหมอกจากการเคลื่อนตัวของความชื้นไปบนผิวน้ำที่เย็นจัด  มีชื่อเรียกเฉพาะว่า  หมอกทะเล (sea smoke) แล้ว  บริเวณดังกล่าวยังเป็นแหล่งที่มีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของปลามาก  ทำให้มีปลาในบริเวณนี้  เป็นประโยชน์ทางด้านการประมงอีกด้วย
4) ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากน้ำขึ้น-น้ำลงและน้ำเกิดน้ำตาย  ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์  โลก  และดวงอาทิตย์  ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  ดังนี้
4.1) น้ำขึ้น-น้ำลง  เนื่องจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ต่างมีแรงดึงดูดที่กระทำต่อมวลน้ำบนโลก  โดยแรงดึงดูดจากดวงจันทร์มากกว่าดวงอาทิตย์  ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงจึงถือได้ว่าเกิดเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์  โดยเกิดน้ำขึ้นวันละ 2 ครั้งสลับกับการเกิดน้ำลงวันละ  2  ครั้ง  คือ  เกิดน้ำขึ้นแล้วอีก 6 ชั่วโมงต่อมาจะเกิดน้ำลง  อีก 6 ชั่วโมงต่อมาก็เกิดน้ำขึ้นและอีก 6 ชั่วโมงก็เกิดน้ำลง  เช่นนี้จนครบ 1 วัน  โดยวันต่อไปเวลาที่น้ำขึ้นจะช้าไปจากวันแรกเฉลี่ยประมาร 50 นาที  ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์โคจรทำมุมกับโลกไป 12 องศา 30 ลิปดา
4.2) น้ำเกิด-น้ำตาย  โดยน้ำเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากโลก  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์เรียงตัวเป็นแนวเดียวกัน  แรงดึงดูดของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสริมแรงกันพลังดึงดูดจึงมากขึ้น  ส่งผลให้ระดับน้ำขึ้นสูงที่สุดและลงต่ำที่สุดต่างจากระดับทะเลปานกลาง  เกิดในช่วงขึ้น 15 ค่ำ  และวันแรม 14-15 ค่ำ  ส่วนน้ำตาย  เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาเรียงตัวเป็นมุมฉาก  น้ำจึงถูกแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ดูดไปส่วนหนึ่ง  และดวงจันทร์ดูดไปส่วนหนึ่ง  จึงทำให้ระดับน้ำขึ้นและน้ำลงไม่แตกต่างไปจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากนัก  ตรงกับช่วงวันขึ้น 8 ค่ำ  และวันแรม 8 ค่ำ

5) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำจืด  น้ำจืดเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์  สมัยโบราณมนุษย์เลือกตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่มีน้ำจืดเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านการบริโภคและการอุปโภค  จากการที่มนุษย์ผูกพันกับแหล่งน้ำจืดมาตั้งแต่สมัยโบราณนี้เองทำให้มนุษย์ได้สั่งสมความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์จากแหล่งน้ำจืดมาโดยตลอด  ทั้งการเกิดน้ำท่วม  และการขาดแคลนน้ำจืด  มนุษย์จึงพัฒนาวิธีการป้องกันน้ำท่วมและรู้จักทำระบบการชลประทาน  เพื่อให้มีน้ำจืดใช้ตลอดปีขึ้น
น้ำจืดที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มีกำเนิดจากหยาดน้ำฟ้าชนิดต่างๆ  ได้แก่  น้ำฝน  หิมะ  ลูกเห็บ  โดยน้ำจืดที่มีสถานะเป็นน้ำแข็ง  เมื่อละลายแล้วน้ำจืดจะแทรกเข้าไปในเนื้อดินซึ่งน้ำจืดในดินจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและชนิดของดิน  ความชื้นในดิน  ชนิดของพืชและบริเวณที่พืชปกคลุมดิน  ความลาดของพื้นผิว  และประเภทหรือลักษณะของฝนที่ตกลงมายังพื้นที่  น้ำจืดในดินจะไหลซึมลงสู่ชั้นใต้ดิน  และสะสมเป็นน้ำใต้ดินต่อไป
โดยมนุษย์นำน้ำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ  เช่น  นำมาอุปโภคบริโภคเป็นน้ำใช้ภายในครัวเรือน  ในโรงงานอุตสาหกรรมและนำมาใช้ในด้านการเกษตร  เป็นต้น
ส่วนน้ำจืดที่เป็นแหล่งน้ำ  เช่น  แม่น้ำ  ลำธาร  ทะเลสาบ  บ่  บึง  สระน้ำ  โดยมนุษย์จะตั้งถิ่นฐานและใช้น้ำจากแม่น้ำมากกว่าแหล่งน้ำจืดผิวดินอื่นๆ  แม่น้ำจึงเปรียบได้ดังนี้  เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตและใช้ในกิจกรรมต่างๆ  คือ  เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง  เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำจืดตามธรรมชาติ และเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเพราะปลูกและเลี้ยงสัตว์


6) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับทะเลและมหาสมุทร  มนุษย์มีความสัมพันและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเค็มมากมายหลายรูปแบบ  ที่สำคัญดังนี้
1.  การคมนาคมขนส่ง  มนุษย์ได้ใช้ทะเลและมหาสมุทรเป็นเส้นทางการเดินเรือทั้งการคมนาคมและการขนส่งมาตั้งแต่สมัยโบราณ  และได้พัฒนาระบบการเดินเรือมาโดยตลอด  จนในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทันสมัยมาก  การขนส่งทางทะเลได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้สามารถบรรทุกน้ำหนักสินค้าได้ปริมาณมาก  และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าด้วยการขนส่งด้วยพาหนะอื่นๆ  โดยพบว่าเมืองใหญ่ๆของประเทศต่างๆ  อยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำหรือชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นจุดรับส่งสินค้า  ตัวอย่างเช่น  เมืองช่างไห่ (เซี้ยงไฮ้)  ของประเทศจีน  กรุงโตเกียวและเมืองโอซะกะของประเทศญี่ปุ่น  เมืองนิวยอร์ก  ประเทศสหรัฐอเมริกา
2.  เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ  ทะเลเป็นแหล่งที่อยู่ของพืชและสัตว์น้ำเค็มนานาชนิด  ซึ่งมนุษย์นำมาเป็นอาหารและเวชภัณฑ์ต่างๆ
3.  สถานทีเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม  จากความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการประมงและการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มบางชนิดที่เป็นอาหารที่เป็นเศรษฐกิจของมนุษย์
4.  การทำนาเกลือสมุทร  การใช้ใช้ประโยชน์จากน้ำเค็มที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  คือ  การทำนาเกลือสมุทร  โดยประเทศในเขตร้อนชื้นที่มีชายทะเลจะทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจชนิดนี้  แต่ก็ทำได้บางพื้นที่เท่านั้น  เนื่องจากการทำนาเกลือจะต้องทำในพื้นที่ที่มีดินเหนียว  มีช่วงฤดูแล้งยาวนานและแสงอาทิตย์เข้มเท่านั้น  เช่น  จังหวัดเพชรบุรี  สมุทรสงคราม  สมุทรสาครของประเทศไทย  เป็นต้น
5.  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  บริเวณชายฝั่งทะเลที่สวยงาม  น้ำทะเลที่อุ่นและสะอาด  จะเป็นสถานที่ตากอากาศและพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของมนุษย์  ดังนั้น  ประเทศที่มีชายหาดที่สวยงาม  จึงสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี


2.4 ปรากฏการณ์จากชีวภาค
ชีวภาค (Biosphere)  หมาย ถึง บริเวณของผิวโลก รวมทั้งในบรรยากาศและใต้ดินที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นทั้งที่มีชีวิตอยู่และ ตายไปแล้ว ได้แก่ พืช สัตว์ มนุษย์ โดยพื้นที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่มีความ สัมพันธ์กันและมีการปรับปรุงตัวของสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมของ ท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค และอุทกภาค
1) ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของพืช ที่สำคัญ มีดังนี้

1.1) ลักษณะทางกายภาพของพืช พืชมีองค์ประกอบทางชีวภาพเฉพาะที่มีความแตกต่าง สามารถเห็นได้ชัด
เช่น ขนาดและความสูงของลำต้น  ประเภทไม้ยืนต้น  ไม้ล้มลุก  ไม้เถา  ไม้เกาะหรือกาฝาก  การแผ่ร่มเงา  ลักษณะของขนาดของใบ รูปร่าง  เช่น  พืชในเขตแห้งแล้งจะมีใบมัน  เป็นต้น
1.2) การกระจายของพืชพรรณธรรมชาติในโลก การกระจายของพืชพรรณ จำแนกตามสภาพแวดล้อมแบ่งได้ 3 ประเภทตามชีววัฏจักร คือ
(1) พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำเค็ม  เช่น  สาหร่าย  หญ้าทะเล  ซึ่งสามารถสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างอาหารได้  ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลและแนวรอยต่อระหว่างน้ำจืดที่ไหลออกมาจากแผ่นดินกับน้ำทะเลที่เรียกว่า  น้ำกร่อย  จะมีพรรณไม้หลายชนิด  เช่น  ไม้โกงกาง  ไม้แสม  ไม้ตะบูน  ไม้ลำพู  ต้นจาก เป็นต้น  และเนื่องจากพรรณไม้เหล่านี้มักเจริญเติบโตบริเวณหาดเลนของปากแม่น้ำจึงเรียกบริเวณนี้ว่า  “ป่าชายเลนเป็นสถานที่อนุบาลสัตว์น้ำและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ป่าชายเลนยังทำหน้าที่เป็นแนวยึดดินไม่ให้พังทลายจากกระแสน้ำ คลื่นและลมที่จะทำความเสียหายแก่ภายในแผ่นดิน


(2) พืชที่เจริญเติบโตได้ในน้ำจืด  บริเวณชายตลิ่งของแหล่งน้ำจืดและในพื้นที่น้ำจืดจะมีพืชหลายชนิดที่เจริญเติบโตอยู่  ได้แก่  พืชสาย  คือ  พืชที่มีเหง้าอยู่ในดิน  มีลำต้นเป็นสายขึ้นอยู่ทั้งใต้ระดับน้ำและเหนือระดับน้ำ  พืชที่ลอยไปตามกระแสน้ำ  เช่น  แหน  ผักตบชวา  พืชที่ขึ้นเป็นต้นมีใบยาว  เช่น ต้นอ้อ  ไม้ยืนต้นที่ขึ้นในบริเวณตลิ่ง  เช่น  ต้นมะกอกน้ำ  เป็นต้น


(3) พืชที่เจริญเติบโตในแผ่นดิน  บริเวณแผ่นดินที่มีพืชขึ้นได้แบ่งออกตามลักษณะของพืชได้ 4 ชนิด  ประกอบด้วย  ป่าไม้  ป่าสลับทุ่งหญ้า  ทุ่งหญ้าและพืชทะเลทราย  โดยพืชชนิดต่างๆ  จะเจริญงอกงามได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ  เช่น  ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี  บริเวณพื้นที่ลาดชันมักจะพบพืชน้อย  บริเวณที่ราบหรือหุบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น  ทำให้การเจริญเติบโตของพืชต่างกันด้วย  อาทิ  บริเวณที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นจะพบต้นไม้สูง  ไม่ผลัดใบ  ภูมิอากาศแบบสะวันนาจะพบพืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้ายาวและมีต้นไม้พุ่มปะปนอยู่บ้าง  เป็นต้น


2)  ปรากฏการณ์ทางชีวภาคของสัตว์ สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในโลกมีแหล่งหรือถิ่นที่อยู่หลัก 
2.5 ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศ อุทกภาค ธรณีภาค และชีวภาค ในพื้นที่ต่างๆ ของโลก
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในด้านบรรยากาศ ธรณีภาค อุทกภาค และชีวภาค ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกนั้น  มีสาเหตุการเกิดทั้งจากการกระทำโดยธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวและสินามิ  ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยเกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียขยับมุดแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย  บริเวณร่องลึกก้นสมุทรซุนดาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา  ประเทศอินโดนีเซีย  ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงถึง 9.0 ริกเตอร์และเกิดคลื่นสึนามิตามมา  ส่งผลให้ประเทศที่มีชายฝั่งติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียได้รับความเสียหาย  มีผู้เสียชีวิตและสูญหายรวมมากกว่า 200,000 คน ภูมิประเทศแถบชายฝั่งเปลี่ยนแปลงไป โดยชายฝั่งที่มีป่าชายเลนจะได้รับความรุนแรงของคลื่นสึนามิน้อยกว่าชายฝั่งที่เป็นหาดทราย เนื่องจากมีป่าไม้ชายเลนช่วยต้านทานความรุนแรงของคลื่นสินามิไว้บางส่วน
ในด้านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์  สาเหตุหลักเกิดจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์  ได้แก่  ปิโตรเลียมและถ่านหิน  เพื่อการอุตสาหกรรม  การคมนาคมขนส่ง  จึงส่งผลให้บรรยากาศมีฝุ่นละอองและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันการโค่นทำลายและเผาป่าไม้  เพื่อนำไม้ไปใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและนำที่ดินไปใช้ทำการเพาะปลูก  ทำให้ปริมาณฝุ่นละอองและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  ด้วยเหตุนี้เองอุณหภูมิของโลกจึงสูงขึ้น ส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน  เกิดความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง เกิดพายุฝนน้ำท่วม อากาศร้อนจัดและหนาวจัดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน  ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปผลกระทบย้อนกลับ ที่มนุษย์บนโลกได้รับ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน เช่น ปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เอลนีโญและปรากฏการณ์ลานิญา การกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นต้น